ผ่าฟันคุด (Wisdom tooth removal)
ฟันคุดคือฟันกรามซี่สุดท้าย โดยปกติจะเริ่มขึ้นในช่องปากเมื่อมีอายุประมาณ 15– 20 ปี หรือบางคนอาจมีพัฒนาการที่เร็วหรือช้ากว่านี้ก็เป็นได้
ฟันคุดจะมีทั้งหมด 4 ซี่ ทั้งบนและล่าง มักมีขนาดใหญ่และมีรูปร่างแปลก รวมถึงอาจขึ้นมาในช่องปากแบบไม่เต็มซี่ ทำให้ทำความสะอาดได้ยาก และอาจมีปัญหาสุขภาพช่องปากอื่นๆ ตามมา ทันตแพทย์จึงมักแนะนำให้ผ่าหรือถอนฟันคุดออกแม้จะไม่มีอาการปวดฟันก็ตาม เนื่องจากไม่ได้ใช้เคี้ยวอาหารและมักเป็นสาเหตุให้ฟันซี่ข้างเคียงผุ
คำแนะนำภายหลังการผ่าผ่าฟันคุด หรือถอนฟัน
- กัดผ้ากอซให้แน่นพอสมควรไว้ 2 ชัวโมง แล้วคายผ้ากอซทิ้ง หากมีเลือดไหลออกมาอีกให้วางผ้ากอซใหม่ที่ให้ไปลงลนแผลแล้วกัดต่ออีก 1 ชั่วโมง
- ในขณะกัดผ้ากอซควรกลืนน้ำลายและเลือด ไม่ควรบ้วนน้ำลายและเลือดเพราะอาจทำให้เลือดออกและหยุดช้าลง
- อาการบวมหลังการผ่าตัดสามารถเกิดได้ และเพิ่มขึ้นใน 2-3 วันแรก สามารถลดอาการบวมได้โดยใช้เจลแช่เย็น หรือน้ำแข็งในถุงพลาสติกห่อด้วยผ้าหรือกระดาษประคบนอกปากบริเวณที่ทำการรักษาตลอดเวลา
- ในวันแรกสามารถบ้วนปากและแปรงฟันได้ แต่ไม่ควรกลั้วปากแรงและควรแปรงฟันบริเวณที่ผ่าตัดอย่างระมัดระวัง
- การบ้วนปากควรใช้น้ำเกลือ (น้ำ 1 แก้วผสมเกลือ 1 ช้อนชา) หรือบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก ที่ทันตแพทย์จ่ายให้เท่านั้น
- ต้องทานยาปฏิชีวนะตามที่ทันตแพทย์จ่ายให้จนครบ ส่วนยาแก้ปวดสามารถทานได้ตามที่ระบุไว้ในฉลากยาเมื่อมีอาการปวด
- ห้ามแคะ หรือดูดแผลถอนฟัน และแผลผ่าตัด
- ห้ามออกกำลังกายหนักเกินควร แต่สามารถทำงานได้ตามปกติ
- ห้ามดื่มสุราห้ามสูบบุหรี่ ห้ามรับประทานของมึนเมาหรืออาหารเผ็ดจัด ร้อนจัด
- อาหารในวันแรกควรเป็นอาหารอ่อนหรืออาหารเหลวที่ไม่ร้อนมากเกินไปเช่น นม หรือโจ๊ก
- ปัญหาการปวดบวมเป็นอาการปกติที่เกิดหลังการผ่าตัด โดยอาจจะมีอาการบวมมากที่สุด ในวันที่ 3 แต่ถ้ามีอาการบวมมาก และมีไข้สูงถือว่าเป็นอาการที่ผิดปกติ
- หากได้รับการเย็บแผลไว้ให้กลับมาตัดไหมภายหลังการผ่าตัด 7 วัน หรือตามที่ทันตแพทย์นัด